[บทที่ 2]
จัดระบบโครงสร้างข้อมูล(Information Architecture)
การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลเป็นพื้นฐานในการออกแบบเว็บไซท์ที่ดี ได้แก่ รูปแบบการนำเสนอ ระบบการทำงานแบบจำลอง ระบบเนวิเกชัน และอินเตอร์เฟสของเว็บดังนั้น การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการออกแบบเว็บไซต์การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล คือการพิจารณาว่า เว็บควรจะมีข้อมูลและการทำงานใดบ้าง โดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย กลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย เนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น นำมาจัดกลุ่มให้เป็นระบบ
Phase 1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ(Research)
1. รู้จักตัวเอง-กำหนดเป้าหมายและสำรวจความพร้อม
2. เรียนรู้ผู้ใช้-ระบุกลุ่มผู้ใช้และศึกษาความต้องการการ
3. ศึกษาคู่แข่ง-สำรวจการแข่งขันและการเรียนรู้คู่แข่ง
Phase 2 : พัฒนาเนื้อหา(Site Content)
4. สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
5. หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา
Phase 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซท์(Site Structure)
6. จัดระบบข้อมูล
7. จัดทำโครงสร้างข้อมูล
8. พัฒนาระบบเนวิเกชัน
Phase 4 : ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ(Visual Design)
9. ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บ
10. พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย
Phase 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production & Operation)
11. ลงมือพัฒนาเว็บ
12. เปิดเว็บไซท์
13. ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง
[บทที่ 4]
การจัดระบบข้อมูลในเว็บไซต์
การจัดระบบข้อมูลในเว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของเว็บไซต์เนื่องจากโครงสร้างข้อมูลมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาระบบเนวิเกชันเนื่องจากข้อมูลในแต่ละลำดับชั้นจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายการในระบบเนวิเกชัน นอกจากนั้นชื่อของกลุ่มข้อมูลต่าง ๆ ก็จะเป็นตัวกำหนดชนิดและลักษณะของข้อมูลภายในกลุ่มนั้น ๆ ด้วย
การจัดระบบข้อมูลในเว็บไซต์ประกอบด้วย แบบแผนระบบข้อมูล (Organizational Scheme) และโครงสร้างระบบข้อมูล (Organizational Structure) โดยที่แบบแผนระบบข้อมูลในกลุ่ม ซึ่งจะมีผลต่อการจัดแบ่งข้อมูลเข้าในแต่ละกลุ่มภายหลัง ส่วนโครงสร้างระบบข้อมูลจะกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูล
แบบแผนระบบข้อมูล (Organizational Scheme)
แบบแผนระบบข้อมูล คือ การกำหนดลักษณะพื้นฐานของข้อมูลภายในกลุ่มเดียวกัน ในชีวิตประจำวันคุณอาจได้สัมผัสกับแบบแผนการจัดระบบต่าง ๆ มากมายโดยไม่รู้ตัว เช่น ในการค้นหาเบอร์โทรศัพท์จากสมุดโทรศัพท์ ซึ่งใช้รูปแบบการจัดระบบตามตัวอักษร หรือการเลือกซื้อของในห้างสรรพสินค้าที่มีการแบ่งหมวดหมู่สินค้าที่แตกต่างกันไป
แบบแผนระบบข้อมูลแบบแน่นอน (Exact Organizational Schemes)
แบบแผนระบบข้อมูลแบบแน่นอน เกิดจากการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่มที่แน่นอน โดยไม่มีการเหลื่อมล้ำของข้อมูลในแต่ละกลุ่ม ตัวอย่างระบบข้อมูลรูปแบบนี้ ได้แก่ ระบบข้อมูลตามตัวอักษร ระบบข้อมูลตามลำดับเวลา และระบบข้อมูลตามพื้นที่ ลักษณะเด่นของแบบแผนประเภทนี้ คือ ความง่ายต่อการออกแบบและดูแล เพราะไม่จำเป็นต้องอาศัยความพยายามใด ๆ ในการแบ่งข้อมูลให้อยู่ตามกลุ่มและยังง่ายต่อการใช้งาน
- การจัดเรียงข้อมูลตามลำดับอักษร (Alphabetical) เป็นรูปแบบการจัดระบบพื้นฐานของพจนานุกรม สารานุกรม สมุดโทรศัพท์ ห้องสมุด และดัชนีที่อยู่ด้านหลังหนังสือ สิ่งเหล่านี้ล้วนใช้ประโยชน์จากการลำดับตัวอักษรในการจัดเรียงข้อมูล แต่วิธีนี้ก็มีข้อด้วย คือ สิ่งที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจไม่มีความสัมพันธ์กันแต่อย่างใด
- การจัดข้อมูลตามลำดับเวลา (Chronological) มีความเหมาะสมกับข้อมูลบางประเภทที่มีความสัมพันธ์กับเวลา เช่น ข่าว หนังสือพิมพ์ รายการทีวี ซึ่งจำเป็นนำเสนอข้อมูลตามลำดับเวลา
การจัดเรียงข้อมูลตามลำดับอักษร (Alphabetical) เป็นรูปแบบการจัดระบบพื้นฐานของพจนานุกรม สารานุกรม สมุดโทรศัพท์ ห้องสมุด และดัชนีที่อยู่ด้านหลังหนังสือ สิ่งเหล่านี้ล้วนใช้ประโยชน์จากการลำดับตัวอักษรในการจัดเรียงข้อมูล แต่วิธีนี้ก็มีข้อด้วย คือ สิ่งที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจไม่มีความสัมพันธ์กันแต่อย่างใด
[บทที่8]
เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์(Designing Web Colors)
การเลือกใช้สีสันในเว็บเพจเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็นจากเว็บก็คือสี ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกของเว็บไซต์
*ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
สามารถเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
สามารถแยกส่วนต่างๆออกจากกันได้ง่าย
สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ช่วยสร้างระเบียบให้คับข้อความต่างๆ
สามารถแยกส่วนต่างๆออกจากกันได้ง่าย
สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ช่วยสร้างระเบียบให้คับข้อความต่างๆ
*แม่สีขั้นต้นมี 3 สี สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน
*การผสมสี(Color Mixing) มี 2แบบ
1.การผสมแบบบวก เป็นการผสมของแสง ไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ นำไปใช้กับ จอ โปรเจคเตอณ์ ทีวี หรือจอมอนิเตอร์
2.การผสมแบบลบ เป็นการผสมไม่เกี่ยวกับแสง แต่เกี่ยวกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่างๆ การนำไปใช้งาน ภาพวาดของศิลปิน
*วงล้อสี (Color wheel) เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดเรียงสีทั้งหมดไว้ในวงกลม และเป็นการจัดลำดับเฉดสีอย่างมีเหตุผลและง่ายต่อการนำไปใช้จะมี
1.วงล้อสีแบบลบ
1.วงล้อสีแบบลบ
2.วงล้อสีแบบบวก
*สีที่เป็นกลาง(Neutral Colors) คือกลุ่มสีที่ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในวงล้อสี เพราะเป็นสีที่ไม่ได้รับอิทธิพลมากจากสีอื่น ซึ่งสีเทา ขาว ดำ
*สีอ่อน สีเข้ม และโทนสี
ในการผสมสีกลางเข้าก้บสีบริสุทธ์จะเกิดเป็นสีต่างๆ จำนวนมาก เช่น สีบริสุทธิ์ผสมกับสีขาว จะได้เป็นสีอ่อน สีบริสุทธิ์ผสมสีเทา จะได้เป็นโทนสีระดับต่างๆ สีบริสุทธิ์กับสีดำจะได้เป็นสีเข็ม
ในการผสมสีกลางเข้าก้บสีบริสุทธ์จะเกิดเป็นสีต่างๆ จำนวนมาก เช่น สีบริสุทธิ์ผสมกับสีขาว จะได้เป็นสีอ่อน สีบริสุทธิ์ผสมสีเทา จะได้เป็นโทนสีระดับต่างๆ สีบริสุทธิ์กับสีดำจะได้เป็นสีเข็ม
*รูปแบบชุดสีสามารถจัดเป็นกลุ่มง่ายดังนี้
1.ชุดสีร้อนประกอบไปด้วยสีม่วงแกมแดง แดงแกมม่วง แดง ส้ม เหลือง และเขียวอมเหลือง สีเหล่านี้สร้างความอบอุ่น สบาย
1.ชุดสีร้อนประกอบไปด้วยสีม่วงแกมแดง แดงแกมม่วง แดง ส้ม เหลือง และเขียวอมเหลือง สีเหล่านี้สร้างความอบอุ่น สบาย
2.ชุดสีเย็น ประกอบด้วยสีม่วง น้ำเงิน น้ำเงินอ่อน ฟ้า น้ำเงินแกมเขียว และสีเขียว ชุดสีเย็นให้ความรู้สึกเย็นสบาย ดูสุภาพ เรียบร้อย
3.ชุดสีแบบเดียว เป็นรูปแบบชุดสีที่ง่ายที่สุด คือมีค่าของสีบริสุทธิ์เพียงสีเดียว แต่งเพิ่มความหลากหลายโดยการเพื่มความเข็มอ่อนในระดับต่างๆ
4.ชุดสีแบบสามเส้า เป็นชุดสีที่อยู่มีมุมของสามเหลื่ยมด่านเท่าทั้งสาม ซึ่งเป็นสีที่มีระยะห่างในวงล้อสีเท่ากัน จึงมีความเข้ากันอย่างลงตัว
5.ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน ประกอบด้วยสี 2 หรือ 3สีที่อยู่ติดกันในวงล้อ สามารถเพิ่มเป็น 4 หรือ5 สีก็ได้ แต่อาจส่งผลให้ขอบเขตของสีกว้างไป
6.ชุดสีตรงข้าม คือสีคู่ที่อยู่ตรงข้ามกันในว้อล้อ เมื่อนำสีทั้งสองมาใช้คู่กันจะทำให้สีทั้งสองมีความสว่างสดใส
7.ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง เป็นชุดสีที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้าม ชุดสีแบบนี้มีความสดใส สะดุดตา และเข้ากันของสีลดลงด้วย
8.ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน ดัดแปลงมาจากชุดสีตรงข้างเช่นกัน แต่สีตรงข้างทั้ง 2 สีถูกแบ่งแยกเป็นสีด้านข้างทั้ง 2 ด้าน จะมีความสดใส แต่ความกลมกลืนของสีลดลง
8.ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน ดัดแปลงมาจากชุดสีตรงข้างเช่นกัน แต่สีตรงข้างทั้ง 2 สีถูกแบ่งแยกเป็นสีด้านข้างทั้ง 2 ด้าน จะมีความสดใส แต่ความกลมกลืนของสีลดลง